B Connect Issue 09 E-Mag-B-Connect-09 | Page 39

จ้างจีนผลิต รูปแบบการทำาธุรกิจ
ต้องชัดเจน
พงษ์ธรกล่าวถึงแนวทางการด�ำเนินธุรกิจ ว่าผู้ประกอบการแต่ละรายก็มีแนวทางที่ แตกต่างกันไป สินค้าที่ขายแพงๆ ได้ก็มี เงื่อนไขทั้งในด้านการใช้วัสดุชั้นเยี่ยมมา ประกอบสร้างเป็นตัวสินค้า หรือไม่ก็ใช้ ประวัติความเป็นมาที่ยาวนานของผลิตภัณฑ์ มาใช้ในการสร้างแบรนด์ผ่านการเล่าเรื่อง หรือ Story Telling
“ รถยนต์ราคา 1 ล้าน วัตถุดิบที่น�ำมาใช้ มันก็ต่างกับรถยนต์ราคา 1 แสนในจีน ไม่ เกี่ยวกับยุโรปที่ความต่างอยู่ที่แบรนด์มีเรื่อง ราว อย่างคนซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคาแพง บางคนไม่เข้าใจว่าคุณซื้อ Hermès มาราคา ใบละ 4-5 แสน เพราะมันมีเรื่องราว ที่ผ่าน มา 400-500 ปีที่เขาท�ำ ถือเป็นมูลค่า เรามอง เราจะเห็นคุณค่ากับชิ้นงานที่เขาท�ำ มันคือ value ส่วน material คือมูลค่าที่ประกอบ เป็นตัวสินค้า ”
เหตุผลที่พงษ์ธรให้ไว้ข้างต้นก็เชื่อมโยง กับแนวทางการท�ำธุรกิจของผู้ประกอบการ
ในบ้านเราที่จะมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก มักจะมี ความพร้อมในเรื่องเงินทุน กลุ่มนี้ก็จะเน้น ในด้านการพัฒนาสินค้าเพื่อแข่งขันในตลาด ไฮเอนด์ ที่จะต้องสร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์ ในขณะที่กลุ่มที่สอง ซึ่งมีข้อจ�ำกัดในเรื่อง ฅการเงิน กลุ่มนี้ต้องอาศัยทักษะทางธุรกิจ ทั้งวิธีการคิดก็ต้องใหม่ แถมยังต้องมีการ วางแผนการผลิต การสร้างแบรนด์ และการ บริหารต้นทุน ถึงจะมีโอกาสไปรอดได้
พงษ์ธรเชื่อว่าปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs ไทยมีมุมมองที่กว้างมากขึ้นและรู้ดี ว่าการแข่งขันกันในด้านราคาจะท�ำให้หลาย ธุรกิจต้องล้มหายตายจากไป ขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลกระทบไปยังต้นน�้ำที่เป็นภาคการ ผลิตในโรงงานที่จะไปไม่รอด โดยเฉพาะ ในบ้านเราแรงงานหายากและค่าแรงก็สูง ขึ้น เมื่อประกอบกับเทคโนโลยีและวัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องจักรที่น�ำเข้ามามีต้นทุนสูง แต่ในแง่ความต้องการสินค้าภายในประเทศ ก็ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และผู้ประกอบการเองก็ยังคงจับลูกค้ากลุ่ม เดิมๆ จึงท�ำให้ไม่สามารถสู้กับต่างประเทศ
ได้ และเป็นสาเหตุที่ท�ำให้ผู้ประกอบการไทย ถึงต้องไปจ้างโรงงานในจีนผลิตสินค้า แล้ว หันมาควบคุมต้นทุนที่เป็น Fixed Cost ให้ ต�่ำลง เช่น ไม่จ้างพนักงานประจ�ำ แต่ใช้วิธี จ้างพนักงานพาร์ทไทม์ หรือฟรีแลนซ์ บริษัท ของพงษ์ธรก็เช่นกันที่ใช้วิธีจ้างคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา แม่บ้านมา ท�ำงานพาร์ทไมท์ คอยท�ำหน้าที่ตรวจ QC สินค้าก่อนส่งเข้าเก็บในโกดัง ซึ่งช่วยให้ค่าใช้ จ่ายในเรื่องเงินเดือนลดลงเป็นอย่างมาก และ ท�ำให้ต้นทุนสินค้าก็ลดลงไปกว่าครึ่ง แถมช่วย สร้างจุดแข็งให้เกิดขึ้นกับบริษัท ทั้งในเรื่อง ความหลากหลายของสินค้า และต้นทุนการ ผลิตสินค้าให้มีมากขึ้น
กล่าวได้ว่า ความเข้าใจผิดของคนไทยที่มี ต่อสินค้า และคนจีน ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้า ไม่ถึงความเป็นจีน ทั้งในด้านการไม่รู้ภาษา จีนและการไม่เข้าใจนิสัยใจคอที่แท้จริงของ คนจีน จึงท�ำให้เกิดทัศนคติด้านลบต่อภาพ รวมของความเป็นจีน และมีผลต่อการท�ำมา ค้าขายกับจีนของผู ้ประกอบการคนไทย ...
B-CONNECT MAGAZINE 37