B Connect Issue 09 E-Mag-B-Connect-09 | Page 37

อย่ามองสินค้าจีน ทุกอย่างไม่มีคุณภาพ !!!

คนส่วนใหญ่มักมองว่าสินค้าจีนราคาถูก ไม่มีคุณภาพ ใช้ไม่นานก็ต้องทิ้งหรือชั่งกิโลขาย ถือว่าเป็นภาพลบที่มีผลต่อสินค้าจีน เป็นอย่างมาก แต่สำาหรับคนที่มีประสบการณ์ในการนำาสินค้าจีนมาจำาหน่าย และคุ ้นเคยกับการจ้างโรงงานจีนผลิตสินค้ามาขายใน บ้านเรา อย่าง พงษ์ธร คงสกุล กรรมการบริษัท บริษัท ต้นแบบความคิด จ�ำกัด ยืนยันว่าการมองแบบเหมารวมว่าโรงงานจีนผลิต สินค้าไม่ได้มาตรฐาน เป็นการมองที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะความจริง สินค้าจีนมีหลายระดับ หลายราคา การที่พ่อค้าแม่ค้าหวังจะได้กำาไร เยอะก็มักจะหาแต่สินค้าราคาถูกมาจำาหน่าย ทั้งๆ ที่คุณภาพก็สมกับราคาทุนที่ซื้อมาขายต่ออยู ่แล้ว
ต้องเข้าใจคนจีน และชำานาญใน
สินค้าที่นำามาขาย
ข้อได้เปรียบของจีนที่มีประชากรหลัก พันล้านคน พงษ์ธรมองว่าแค่ขายในประเทศ ก็ผลิตแทบจะไม่พออยู่แล้ว และความจริงไม่ จ�ำเป็นต้องง้อออร์เดอร์จากต่างประเทศด้วย ซ�้ำ เขายกตัวอย่างให้ฟังว่าการผลิตกระเป๋า เพื่อจ�ำหน่ายในประเทศจีนก็ไม่ได้ผลิตแค่ พันใบ หมื่นใบ หรือแสนใบ แต่บางทีผลิตเป็น ล้านใบ ดังนั้นการผลิตชิ้นส่วนของกระเป๋า 1 ล้านชิ้น กับการลงทุนซื้อเครื่องจักรมาผลิต ไม่กี่เดือนก็คืนทุน และสามารถสั่งเครื่องจักร มาตั้งไลน์การผลิตใหม่ได้อย่างสบาย ดังนั้น ก�ำลังการผลิตระดับ 1 ล้านถือว่าเล็กน้อยมาก และการที่โรงงานจีนมีการเปลี่ยนเครื่องจักร ในการผลิตเป็นว่าเล่นจึงไม่แปลกที่คนจีนจะ มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตก้าวไกล กว่าในบ้านเรามาก และไม่แปลกอีกเช่นกัน ที่โรงงานบางแห่งของไทยก็มักจะไปรับช่วง โดยการซื้อเครื่องจักรมือสองจากจีนที่โละทิ้ง แล้วมาผลิตต่อ
จากประสบการณ์ในการน�ำสินค้าจีน มาจ�ำหน่าย พงษ์ธรมองว่าจะต้องเริ่มต้น ด้วยการศึกษาตลาดทั้งของจีนและในบ้าน เราให้ดีก่อน นอกจากนี้ยังจะต้องมีความ ช�ำนาญในสินค้าที่น�ำมาขายด้วยว่ามีข้อจ�ำกัด หรือมีปัญหาอุปสรรคอะไร
“ ยกตัวอย่างสมัยก่อน เวลาจะน�ำเข้า เฟอร์นิเจอร์ 1 ชิ้นมาในประเทศไทย สิ่งที่ ต้องรู้คือ เรื่องความร้อนชื้น วัสดุประกอบมี ผลอะไรกับเฟอร์นิเจอร์ตัวนี้บ้าง การแพ็คกิ้ง น�้ำหนักในการน�ำเข้า ยกตัวอย่าง โต๊ะกระจก ที่มีรอยต่อ สมัยก่อนเมืองจีนขายตัวละ 7,000 เมืองไทยขาย 4-5 หมื่น เห็นแล้วถูกมาก ก็ คิดจะเอามาขายในไทย การชิปปิ้งเข้ามา เขา ไม่คิดเป็นน�้ำหนัก แต่คิดเป็นคิวบิกเมตร และ ต้องตีลังเข้ามา แค่เฉพาะค่าขนส่งก็เท่าตัว แล้วใน 3 ตัว กะเทาะไป 2 ตัว โดนกระแทก บิ่นไปหนึ่งตัว ประสบการณ์ตรงนี้ท�ำให้รู้ ว่าการชิปปิ้ง การน�ำเข้าก็เป็นส่วนส�ำคัญ ผู้ ประกอบการไทยต้องศึกษาให้ความส�ำคัญ ทุกรายละเอียดในตัวสินค้า รวมทั้งกฎหมาย ด้วย ” พงษ์ธรอธิบายรายละเอียดให้เห็นถึง ต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่รู้ของคน ไทยที่น�ำเข้าสินค้าจีนบางอย่างมาขาย
นอกจากนี้ ถ้าคนที่ไม่รู้จักผู้ผลิตจีน ดีพอก็อาจจะเข้าใจว่าคนจีนขี้โกง ไม่ซื่อสัตย์ แต่พงษ์ธรยกตัวอย่างถึงการสั่งซื้อหลอดไฟ ว่า แม้ระบุสีของหลอดไฟตอนสั่งซื้ออย่าง ชัดเจน แต่พอสินค้าส่งมาถึงเมืองไทย ก็มี หลอดไฟสีอื่นที่ใกล้เคียงปะปนมาด้วย เนื่องจากผู้ผลิตจีนตีความไปเองว่าสีที่ใกล้ เคียงกันนั้นใช้แทนกันได้
“ เวลาบินไปซื้อของที่จีน ซื้อเสร็จก็ รีบกลับ เพราะไม่เปลือง cost ตอนซื้อของก็ ตรงตามที่ต้องการ สมมุติซื้อหลอดไฟสีเขียว พอมาถึงเมืองไทยหลอดสีเขียวอาจจะได้ 800 หลอด ปนสีเหลืองมาให้ 200 หลอด นี่เป็นเรื่องปกติ คนจีนเขาจะเข้าใจว่าสี เหลืองก็ใช้ได้เหมือนกัน ต้องอธิบายให้เขา ฟัง เขาก็รับฟังนะ อย่างเช่น ผมสั่งหลอด มาขายสตาร์บัคส์ 1,000 หลอด ถ้ามีสีอื่น ปน ผมขายไม่ได้ เขาไม่รับออร์เดอร์ ผม ก็ขาดทุน เพราะเขาต้องใช้หลอดสีเขียว เท่านั้นเป็น CI ( Corporate Identity ) ของเขา สีเหลืองเขาไม่ยอม เขาเป็นแบรนด์ โกบอล ผู้ผลิตของจีนก็เข้าใจ เขารับรู้ เขา ไม่ได้ตั้งใจโกง แต่เขาเข้าใจว่าใช้แทนกันได้ เขามองอย่างนี้
สมมุติเราบอกว่าต้องได้ของวันที่ 10 เขา ก็ยึดเวลาเป็นเกณฑ์ ไม่ได้ยึดสินค้าเป็นเกณฑ์ เขาก็บอกว่าถ้าของถึงวันที่ 11 หลอดไฟสี เขียวหมด แต่ถ้าวันที่ 10 จะมีสีเหลืองปน แต่ เขาก็ไม่บอกเราตั้งแต่แรก แล้วท�ำไมไม่บอก ก่อนว่ารออีก 1 วันจะได้หลอดไฟสีเขียวครบ เขาให้ความส�ำคัญกับเวลา เขาจะเป็นแบบนี้ ” พงษ์ธรให้ข้อมูลเพิ่ม
B-CONNECT MAGAZINE 35